เริ่มต้นสร้างแบรนด์ตัวเองง่ายๆ เริ่มจาก 0 ฉบับมือใหม่

วิธีสร้างแบรนด์ตัวเอง

อยากมีแบรนด์เป็นของตัวเอง แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง! กลัวทำไปแล้วจะซ้ำกับคนอื่น! เริ่มตอนนี้จะสายไปหรือเปล่า? หลายๆคนอาจมีคำพูดพวกนี้วงเวียนอยู่ในหัวจนไม่กล้าที่จะเร้มต้นทำซะที แต่ไม่ต้องห่วงเพราะทุกคนที่เริ่มสร้างแบรนด์ตัวเองขึ้นมาก็เคยมีคำพูดพวกนั้นอยู่ในหัวเหมือนกัน แต่พวกเขาก็สามารถหลุดพ้นออกมาได้เพราะทุกคนมีความมั่นใจต่อแบรนด์ตัวเองสูง ทำให้ลูกค้าเห็นว่าแบรนด์ของพวกเขามีมูลค่ามากพอที่จะดึงดูดสายตาจากลูกค้า จนประสบความสำเร็จได้

สำหรับใครที่อยากจะเริ่มต้นสร้างแบรนด์ตัวเองขึ้นมาในบทความนี้จะบอกสิ่งที่มือใหม่ควรต้องรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์เป็นของตัวเองโดยเริ่มนับจาก 0

แบรนด์คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ

ก่อนเริ่มต้นสร้างแบรนด์ตัวเองขึ้นมา มาทำความเข้าใจกับความสำคัญของแบรนด์ก่อน แบรนด์เป็นสิ่งที่ระบุตัวจนหรือเอกลักษณ์ของเจ้าของแบรนด์ที่สื่อออกมาในรูปของ “ชื่อ” “โลโก้” 

 

หลักๆแล้วจะเป็นวิธีการสร้างภาพลักษณ์และมูลค่าให้กลุ่มลูกค้ารับรู้ว่าเราคืออะไร อะไรคือสิ่งที่เราจะเอาชนะคู่แข่ง การสร้างแบรนด์ของตัวเองไม่ได้มีไว้แค่ให้ลูกค้ารับรู้ แต่เป็นมากถึงคุณค่าและความน่าเชื่อถือของสินค้าภายใต้แบรนด์ที่เราสร้าง

ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ตัวเอง

1. หาสินค้าที่ตัวเองชอบ

ขั้นตอนแรกเลยคือหาสินค้าที่ตัวเองชอบให้ได้ซะก่อน(ไม่มีสินค้าก็อดขายนะ!) โดยอาจจะเลือกจากงานสิ่งที่ตัวเองชอบ ยกตัวอย่างเช่น ชอบกินขนมอาจจะทำเค้ก เครปเย็น โดนัทเป็นสินค้าเป็นของตัวเอง, ชอบการแต่งตัวแบบมีสไตล์การเพ้นลายเสื้อขายก็ตอบโจทย์เหมือนกัน

 

แนะนำว่าควรเลือกสินค้าที่ตัวเองชอบเพราะจะทำให้เราอยู่กับมันได้นานโดยที่ไม่รู้สึกเบื่อสักนิด

 

หากเลือกสินค้าได้แล้วต่อไปก็ดูขั้นตอนกระบวนการทำสินค้าว่าจะทำสินค้าเอง หรือ จ้างโรงงานทำ OEM (Original Equipment Manufacturer) แต่ข้อจำกัดคือแต่ละโรงงานจะมีกำหนดจำนวนการผลิตขั้นต่ำซึ่งแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน

2. หากลุ่มลูกค้า

หลังจากตัดสินใจเลือกสินค้าที่ชอบแล้ว ก็จะเป็นการกำหนดลูกค้าของเราว่าเป็นใคร ต้องเข้าไปทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้ารวมไปถึงความชอบ รสนิยมต่างๆ เพื่อที่จะสร้างแบรนด์ตัวเองให้กลุ่มลูกค้าได้จดจำแบรนด์ได้ระยะยาว

 

ไม่เพียงแค่หากลุ่มลูกค้าหลักของเราอย่างเดียว การศึกษาคู่แข่งก็มีส่วนสำคัญเหมือนกันดูว่าคู่แข่งรายไหนมีบทบาทกับกลุ่มลูกค้าของเรามาก เขาใช้เทคนิคอะไรในการดึงดูดลูกค้าพวกนั้นให้มาสนใจ เพราะว่าเราจะจะต้องแย่งลูกค้าจากคู่แข่งมาหาเราให้ได้ การศึกษาวิธีการของคู่แข่งไม่ว่าจะเป็นการสร้างคอนเทนต์ การพัฒนาสินค้าหรือแม้กระทั่งการออกแบบชื่อแบรนด์ โลโก้ ฉะนั้นแล้วเราควรที่จะศึกษาคู่แข่งหาข้อมูลให้ได้มากที่สุดเพื่อที่จะพัฒนาการสร้างแบรนด์ของตัวเองให้ออกมาให้โดดเด่นในสายตากลุ่มลูกค้า

3. การสร้างภาพลักษณ์แบรนด์

ในขั้นตอนนี้จะเป็นการเริ่มต้นลงมือการสร้างแบรนด์ของตัวเองแล้ว นั้นคือการคิดชื่อแบรนด์ โทนสี หรือสโลแกนของแบรนด์ ซึ่งสิ่งนี้จะบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของเราในสายตาลูกค้า และเป็นตัวบ่งบอกว่าแบรนด์ของเราจะทำการตลาดในทางไหน

 

สิ่งสำคัญของการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์คือ การสื่อสารออกมาให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าหลักเช่น กลุ่มลูกค้าของเราคือวัยรุ่นการสร้างแบรนด์ควรสร้างออกมาในรูปแบบที่ทันสมัยดูเท่ๆ คูลๆ และจะต้องดูไม่แก่ แต่ถ้ากลุ่มลูกค้าเป็นเด็กอาจจะต้องสร้างแบรนด์ออกมาให้ดูน่ารักๆ สมวัย

4. เลือกช่องทางการขายสินค้าและสร้างการรับรู้ของแบรนด์ตัวเอง

สำหรับคนเริ่มต้นสร้างแบรนด์ขึ้นมาเป็นครั้งแรกที่ยังไม่มีประสบการณ์มากนักขอแนะนำใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ขายสินค้าและโปรโมทแบรนด์ไปในตัว เนื่องจากใช้ต้นทุนไม่สูงและยังสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เป็นจำนวนมากในเวลาพร้อมๆกัน และที่ขาดไม่ได้คือควรสมัครให้ครบทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น Facebook, IG, Line, Tiktok หรือแม้กระทั่งเว็บไซต์และ ควรเน้นช่องทางออนไลน์ให้ครบทุกอย่างเพื่อที่จะทดลองตลาดว่าลูกค้าส่วนใหญ่รับรู้แบรนด์ของเราจากช่องทางไหนมากที่สุด

เคล็ดลับในการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง

การสร้างแบรนด์ตัวเองให้แข็งแกร่งเพื่อเอาใจลูกค้าเป็นสิ่งที่ต้องทำไว้แต่แรก เนื่องจากจำเป็นที่จะต้องใช้เวลากว่าจะเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งและดึงดูดลูกค้าหันมาสนใจได้

1. ทำตามเป้าหมายของแบรนด์

การสร้างแบรนด์ตัวเองให้แข็งแกร่งควรที่จะสะท้อนถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์ที่เป็นอยู่ ไม่ใช่ว่า พยายามเลียนแบบของคนอื่นเพราะมันจะดูเหมือนการหลอกตัวเองและดูไม่จริงใจในสายตาลูกค้า การเป็นตัวของตัวเองหมายถึงการจริงใจ โปร่งใสต่อลูกค้าและยังสามารถสร้างความภัคดีต่อแบรนด์ได้ในระยะยาว

2. สร้างคอนเทนต์ให้สม่ำเสมอ

การสร้างคอนเทนต์เป็นสิ่งสำคัญและขาดไม่ได้ในช่วงเริ่มต้นสร้างแบรนด์ขึ้นมา เราควรสร้างคอนเทนต์อย่างต่อเนื่องให้ครบทุกแพลตฟอร์ม เนื่องจากเป็นกุญแจสำคัญที่ให้ลูกค้ามองว่าแบรนด์ของเรามีตัวตนอยู่จริง เชื่อถือได้เพียงแค่สร้างคอนเทนต์ไปเรื่อยๆ พยายามอย่าปล่อยให้ร้างเพียงเท่านี้ก็สามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือในสายตาลูกค้าได้

3. การมีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วมกับลูกค้าบนโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะการตอบกลับความคิดเห็นของลูกค้าถือได้ว่าเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ได้ดี ซึ่งมองว่าเราเห็ความสำคัญกับความคิดเห็นของลูกค้าพร้อมที่จะรับฟังและแก้ไขสิ่งที่ขาดหายไป การมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้ายังสามารถสร้างความภัคดีและภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาลูกค้าได้