วิเคราะห์ SWOT Analysis พร้อมยกตัวอย่างการใช้งานสำหรับทุกธุรกิจ

วิเคราะห์ SWOT Analysis

การวิเคราะห์ SWOT Analysis คือเทคนิคการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อช่วยให้ธุรกิจระบุจุดแข็ง (Strengths), จุดอ่อน(Weaknesses), โอกาส(Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางธุรกิจหรือการวางแผนกลยุทธ์ได้ เป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถใช้เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างชัดเจนและลงมือตัดสินใจในการวางแผนกลยุทธ์ธุกิจได้ดี

การวิเคราะห์ SWOT Analysis แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย

1. ปัจจัยภายใน

ปัจจัยภายในแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

จุดแข็ง (Strengths)

จุดแข็ง (Strengths) คือ สิ่งที่ธุรกิจสามารถทำได้ดีกว่าคู่แข่ง มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานภายในธุกิจ เช่น สินค้าหรือบริการมีคุณภาพดี, พนักงานมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์, มีแบรนด์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เป็นต้น

จุดอ่อน (Weaknesses)

จุดอ่อน (Weaknesses) คือ ปัจจัยภายในที่ธุรกิจอาจจะทำได้ไม่ดีนักเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง และอาจเป็นสิ่งที่คอยฉุดรั้งไว้ให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้ล่าช้า หรือ ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งจดอ่อนโดยทั่วไปของธุรกิจได้แก่ สินค้าหรือบริการไม่มีความแตกต่างในอุตสาหกรรมเดียวกัน, ต้นทุนวัตถุดิบที่สูง, พนักงานไม่มีความเชี่ยวชาญ เป็นต้น

2. ปัจจัยภายนอก

โอกาส (Opportunities)

โอกาส (Opportunities) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้แต่เป็นผลดีต่อตัวธุรกิจเป็นอย่างมาก เช่น พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป, ความต้องการสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น หรือ นโยบายภาครัฐที่สนับสนุนธุรกิจ

อุปสรรค (Threats)

อุปสรรค (Threats) คือ สถานการณ์ภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ค่าเงินที่มีแนวโน้มมากขึ้น, การถูกจำกัดการผลิตจากรัฐบาล, กฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ หรือ โรคภับไข้เจ็บ

SWOT Analysis

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT

  • ช่วยผู้บริหารเข้าใจสถานการณ์และสภาพแวดล้อมของธุริจได้ดียิ่งขึ้น
  • ช่วยกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในแต่ละสถานการณ์
  • ช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงมีโอกาสเกิดขึ้นเพื่อเตรียมรับมือกับความเสี่ยงแต่ละรูปแบบ
  • ช่วยปรับปรุงการดำเนินงานในทุกมิติของธุรกิจ
  • ช่วยให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ขั้นตอนการวิเคราะห์ SWOT

    1. กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ SWOT

    การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ SWOT มีความสำคัญมากเพราะจะช่วยบ่งบอกถึงขอบเขตของในการวิเคราะห์เพื่อให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อมูลตรงตามแบบแผนที่วางไว้ โดยตัวอย่างของวัตถุประสงค์มีดังนี้

  • ต้องการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย
  • ต้องการปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กรเพื่อลดต้นทุน
  • ต้องการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
  • 2. รวบรวมข้อมูล

    ธุรกิจจะต้องรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของธุรกิจ โดยข้อมูลต่างๆสามารถรวบรวมได้จาก ภายในแผนกงานต่างๆ, สถานการณ์การแข่งขันปัจจุบัน, ข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เป็นต้น

    โดยข้อมูลที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ SWOT ควรเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและเชื่อถือได้ ตัวอย่างข้อมูลที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ SWOT

  • ข้อมูลภายในธุรกิจ เช่น ข้อมูลสินค้าหรือบริการ, ข้อมูลการตลาดปัจจุบัน, ข้อมูลการเงิน ข้อมูลพนักงาน, ข้อมูลในด้านต้นทุนการผลิต เป็นต้น
  • ข้อมูลภายนอกองค์กร เช่น ข้อมูลการแข่งขัน, ข้อมูลอุตสาหกรรม, ซัพพลายเออร์, ข้อมูลเศรษฐกิจ ข้อมูลสังคม, ข้อมูลเทคโนโลยี, ข้อมูลคู่แข่ง เป็นต้น
  • 3. การวิเคราะห์ข้อมูล

    การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของ SWOT การวิเคราะห์ข้อมูลควรดำเนินการให้ละเอียดและรอบคอบ เพื่อทำให้การวิเคราะห์ได้ประโยชร์สูงสุดในการนำไปใช้กำหนดกลยุทธ์ต่างๆ

     

    การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้

    3.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน

    การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน เป็นการกำหนดจุดแข็ง Strengths และจุดอ่อน Weaknesses ของธุรกิจ โดยจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบภายในธุรกิจต่าง ๆ  เช่น สินค้าหรือบริการ, แบรนด์, การเงิน, ทักษะพนักงานแต่ละแผนก, ระบบการบริหารจัดการ เป็นต้น

    3.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก

    การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก เป็นการกำหนดโอกาส Opportunities และอุปสรรค Threats ภายนอกของธุรกิจ ซึ่งจะเป็นการสังเกต รวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจ, สังคม, การเมือง, เทคโนโลยี, พฤติกรรมผู้บรโภค เป็นต้น

    4. สรุปผลและกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม

    การสรุปผลการวิเคราะห์ SWOT เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยจะต้องสรุปผลที่ได้จากการสังเกต รวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์ทั้งในด้านปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก จากนั้นจำเป็นที่จะต้องกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อกำหนดทิศทางของธุรกิจให้เข้ากับสภาพแวดล้องปัจจุบันของธุรกิจ และควรให้มีความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน

    ตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT Analysis ธุรกิจร้านอาหาร

    จุดแข็ง Strengths   

  • อาหารและบริการมีคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับของลูกค้า
  • มีฐานลูกค้าประจำ
  • เป็นแบรนด์จดจำอย่างทั่วถึง

  • จุดอ่อน Weaknesses 

  • การแข่งขันสูงจากคู่แข่งรายใหม่
  • ต้นทุนวัตถุดิบค่อนข้างสูง

  • โอกาส Opportunities 
  • กระแสความนิยมในการทานอาหารนอกบ้านเพิ่มขึ้น
  • พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป นิยมทานอาหารที่สะดวกและรวดเร็ว

  • อุปสรรค Threats 
  • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
  • นโยบายภาครัฐที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อธุรกิจ
  • การตัดสินใจเลือกใช้กลยุทธ์

    จากการวิเคราะห์ SWOT แล้วธุรกิจร้านอาหารที่นี้สามารถกำหนดกลยุทธ์ตามสถานการณ์ต่างๆ ได้ดังนี้

    1. กลยุทธ์ด้านจุดแข็งและโอกาส

  • พัฒนาคิดค้นเมนูอาหารใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  • ขยายสาขาเพื่อขยายฐานลูกค้าเพิ่มมากขึ้นสามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ เช่น ขยายสาขาในแหล่งท่องเที่ยว หรือบริเวณใกล้เคียงกับออฟฟิศ
  • เพิ่มช่องทางการขายออนไลน์
  • 2. กลยุทธ์ด้านจุดอ่อนและโอกาส

  • หาแหล่งวัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำ เช่น เจรจาต่อรองกับเกษตรกรในท้องถิ่น
  • 3. กลยุทธ์ด้านจุดแข็งและอุปสรรค

  • ลงทุนในเทคโนโลยีทันสมัย เช่น การใช้ระบบการจัดการสต็อกวัตถุดิบ หรือ ใช้ระบบ One Stop Services
  • ร่วมมือกับผู้จัดหาแหล่งวัตถุดิบหรือภาคเอกชนในการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ
  • 4. กลยุทธ์ด้านจุดอ่อนและอุปสรรค

  • พัฒนาเมนูอาหารให้มีคุณภาพและกำหนดราคาที่เป็นธรรม
  • สร้างความเข้มแข็งให้กับแบรนด์ เช่น การทำการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้และจดจำแบรนด์