Business Model Canvas คืออะไรตัวอย่างแบบจำลองธุรกิจ

Business Model Canvas

Business Model Canvas คือเครื่องมือในการออกแบบและวิเคราะห์โมเดลธุรกิจ ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย Dr.Alexander Osterwalder และ Yves Pigneur ช่วยให้ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจหรือคนที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจ สามารถเข้าใจโมเดลธุรกิจของตนเองรับรู้ถึงแหล่งรายได้หลัก ต้นทุนที่จะต้องใช้ได้อย่างกระชับ รวดเร็ว เข้าใจภาพรวมครบถ้วนได้ง่ายขึ้น โดยใช้กระดาษ A4 เพียง 2 แผ่น และแบ่งออกเป็น 9 ส่วนหลักดังนี้

การจัดกลุ่มของ Business Model Canvas

Business Model Canvas สามารถแบ่งกลุ่มออกได้เป็น 4 กลุ่มได้แก่

1. โครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure

โครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจ รวมถึงทรัพยากรหลัก, กิจกรรมหลัก, และพาร์ทเนอร์

  • กิจกรรมหลัก Key Activities กิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นในการดำเนินธุรกิจ สร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ เช่น การผลิตสินค้า
  • ทรัพยากรหลัก Key Resources ทรัพยากรที่จำเป็นและสำคัญที่ใช้ในการดำเนินงานกิจกรรมหลัก เช่น แรงงาน อุปกรณ์
  • พาร์ทเนอร์ Key Partners ความสัมพันธ์กับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจที่สามารถช่วยในการจัดหาทรัพยากรหลัก
  • 2. เสนอขาย Offering

    การนำเสนอสินค้าบริการให้ลูกค้า
  • จุดเด่นสินค้าบริการ Value Propositions การนำเสนอจุดเด่น ความแตกต่างของสินค้าบริการของตัวธุรกิจ
  • 3. ลูกค้า Customers

    กลุ่มนี้เน้นไปที่ลูกค้าหลักธุรกิจ, ช่องทางการจัดจำหน่าย, และการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

  • กลุ่มลูกค้า Customer Segments การแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็นส่วนย่อยตาม อายุ รายได้ พฤติกรรม
  • ช่องทางการจัดจำหน่าย Channels ช่องทางที่ใช้ในการขายสินค้าหรือบริการกับลูกค้า
  • ความสัมพันธ์กับลูกค้า Customer Relationships วิธีการที่ธุรกิจใช้ในการสร้างและดูแลความสัมพันธ์กับลูกค้าระยะยาว
  • 4. การเงิน Finance

    เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ และรายได้หลักที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ

  • รายได้ Revenue แหล่งรายได้หลักทั้งหมดของธุรกิจ
  • ต้นทุน Cost Structure ต้นทุนทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
  • Business Model Canvas มีอะไรบ้าง

    1. พาร์ทเนอร์ Key Partnerships

    คือความสัมพันธ์หรือพันธมิตรทางธุรกิจเป็นส่วนช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพในราคาที่ต่ำ หรือการเข้าถึงโอกาสในด้านเทคโนโลยีเพื่อจัดหากลุ่มลูกค้ารายใหม่เพิ่มการรับรู้ของตัวธุรกิจ หรือ การเป็นพาร์ทเนอร์สำหรับการช่วยขยายธุรกิจให้มีฐานลูกค้ากว้างขึ้น

    2. กิจกรรมหลัก Key Activities

    เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนธุรกิจ ส่งมอบสินค้า บริการที่มีคุณค่าให้กับลูกค้า เช่น การผลิตสินค้า, การคิดค้นสินค้าใหม่, การพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าให้มากที่สุด หรือรวมไปถึงการปรับปรุงช่องทางการขายสินค้าโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้กับธุรกิจเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขายสินค้าบริการ

    3. ทรัพยากรหลัก Key Resources

    วัตถุดิบ อุปกรณ์ หรือ ทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจเช่น อุปกรณ์การผลิตสินค้า เครื่องจักร ทรัพยากรมนุษย์ ทีมงาน พนักงาน ทรัพสินทางปัญหา สิทธิบัตร สูตรอาหาร ลิขสิทธิ์ ทรัพยากรหลักเหล่านี้จะเป็นตัวประกอบของ Key Activities ในการผลักดันในเรื่อง Value Propositions สินค้าบริการให้กับลูกค้า

    4. จุดเด่นสินค้าบริการ Value Propositions

    เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงคุณค่า ความพิเศษและความแตกต่างในตัวสินค้าบริการเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยสินค้าที่นำเสนอกับลูกค้าสามารถตอบโจทย์ความต้องการแก้ปัญหาลูกค้าได้ยังไง เช่น

     

    ด้านความสะดวก ธุรกิจมีการจัดส่งสินค้าถึงบ้านลูกค้าภายใน 1 วัน หรือมีการเคลมทันทีเมื่อสินค้าไม่ตรงตามคุณภาพที่โฆษณาไว้


    ด้านราคา การตั้งราคาไว้หลากหลายเพื่อให้ลูกค้าเลือกแพ็คเกจราคาตามความเหมาะสม

    5. ความสัมพันธ์กับลูกค้า Customer Relationships

    การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารลูกค้า การบอกข้อมูลอย่างชัดเจน หรือเป็นการสมัครสมาชิกกับทางธุรกิจเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เป็นการสร้างความภักดีกับลูกค้าในระยะยาว โดยการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอาจจะเป็นการให้คำปรึกษาลูกค้า การรับฟังปัญหาพร้อมเสนอวิธีแก้ไขทันทีหรือคะแนนรีวิวต่างๆ

    6. ช่องทางการจำหน่าย Channels

    เป็นวิธีการนำเสนอสินค้าบริการให้ลูกค้ารับรู้ถึงตัวธุรกิจ ตัวอย่างเช่น การมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง การสร้างร้านค้าบน Social Media การยิงโฆษณา การสร้างเว็บไซต์

    7. กลุ่มลูกค้า Customer Segments

    คือกลุ่มลูกค้าหลักที่มาซื้อสินค้าบริการของธุรกิจ การทำความเข้าใจกับกลุ่มลูกค้าไม่ว่าในด้านพฤติกรรม สังคม รายได้ อาชีพ อายุ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ง่ายยิ่งขึ้นและยังสามารถช่วยส่งเสริม Revenue รายได้ให้ธุรกิจมีทุนดำเนินกิจต่อไปได้

    8. ต้นทุน Cost Structure

    ต้นทุนธุรกิจประกอบไปด้วย ต้นทุนคงที่ และ ต้นทันผันแปร

     

    ต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเช่าสถานที่ เงินเดือนพนักงาน ค่าเสื่อมอุปกรณ์

    ต้าทุนผันแปร เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าส่งสินค้า

    9. รายได้ Revenue

    ธุรกิจสร้างรายได้จากดำเนินการอะไร เช่น รายได้จากการขายสินค้าบริการ, รายได้จากการสมัครสมาชิกรายเดือน รายปี, รายได้จากการให้คำปรึกษา, รายได้จากค่าเช่า ซึ่งตัวธุรกิจจำต้องลิสรายได้ทั้งหมดว่ามาจากช่องทางไหนบ้าง

    ตัวอย่าง Business Model Canvas ในร้านอาหาร

    Business Model Canvas ตัวอย่าง
    1. พาร์ทเนอร์ Key Partnerships
  • โรงงานผลิตวัตถุดิบทำอาหาร
  • แพลตฟอร์มโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ
  • พาร์ทเนอร์สำหรับการจัดส่งอาหาร

  • 2. กิจกรรมหลัก Key Activities
  • การจัดซื้อวัตถุดิบ
  • การทำอาหาร
  • การควบคุณภาพอาหาร
  • การบริการลูกค้า

  • 3. ทรัพยากรหลัก Key Resources
  • พนักงาน
  • อุปกรณ์ทำอาหาร
  • อุปกรณ์ตกแต่งร้าน
  • อุปกรณ์สำหรับการจัดการระบบการสั่งซื้อออนไลน์

  • 4. จุดเด่นสินค้าบริการ Value Propositions
  • อาหารครีนเพื่อสุขภาพ
  • อาหารสำหรับคนเบาหวาน
  • บริการจัดส่งอาหารที่รวดเร็วภายใน 30 นาที

  • 5. ความสัมพันธ์กับลูกค้า Customer Relationships
  • การสมัครสมาชิก
  • โปรโมชันพิเศษสำหรับลูกค้าที่สมัครสมาชิก
  • รีวิวจากลูกค้า

  • 6. ช่องทางการจำหน่าย Channels
  • การเปิดหน้าร้าน
  • เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันสำหรับการสั่งซื้อออนไลน์
  • Social Media สำหรับการโปรโมต

  • 7. กลุ่มลูกค้า Customer Segments
  • พนักงานบริษัทที่ชอบออกมาทานข้าวเที่ยง
  • คนที่รักสุขภาพ

  • 8. ต้นทุน Cost Structure
  • ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบ
  • ค่าแรง
  • ค่าเช่าสถานที่

  • 9. รายได้ Revenue
  • การขายอาหารภายในร้าน
  • การขายอาหารผ่านช่องทางออนไลน์
  • การจัดงานเลี้ยง