ระบบจัดการฐานข้อมูลลูกค้าในปัจจุบันนับได้ว่ามีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อธุรกิจในทุกๆ อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการจัดการฐานข้อมูล Database Management System (DBMS) ที่ในทุกธุรกิจจำเป็นต้องมีเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลของลูกค้าอันเป็นประโยชน์ โดยมีจุดประสงค์หลักคือ การรวบรวมข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าหรือแม้กระทั้งการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า ทั้งนี้เพื่อนำฐานข้อมูลมาเข้าสู่กระบวนการวางแผนจัดทำกลยุทธ์ต่างๆ ให้ธุรกิจเกิดความแข็งแกร่งและก้าวเดินไปข้างหน้า
การนำฐานข้อมูลลูกค้ามาใช้ประโยชน์ในด้านธุรกิจนั้นถือเป็นกลยุทธ์ที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นปัจจัยหลักที่จะนำมาวิเคราะห์วางแผนในการพัฒนาสินค้า หรือ บริการที่ตอบโจทย์กับกลุ่มลูกค้าได้ดี โดยในบทความนี้จะขอแบ่งประโยชน์ฐานข้อมูลลูกค้าออกเป็น 3 อย่างดังนี้
ธุรกิจทุกแห่งนั้นล้วนมีกลุ่มเป้าหมายเป็นของตัวเอง อาจจะแบ่งออกเป็น เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, สถานภาพ, พื้นที่, หรือแม้กระทั่งระดับรายได้ ซึ่งข้อมูลลูกค้าพวกนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการนำมาประยุกต์ใช้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย แต่ถ้าต้องการเพิ่มโอกาสในการหาลูกค้าให้มากขึ้น และ ใช้ระยะเวลาน้อยลงควรที่จะเก็บข้อมูลลงลึกถึงระดับ พฤติกรรม, ทัศนคติ, ความชอบ
ตัวอย่างการเก็บข้อมูลเชิงลึก ระยะเวลาการเล่นโซเชียลมีเดีย, ความถี่ในการใช้ search engine, ประเภทเว็บไซต์ที่ชอบกดเข้าไปดู เป็นต้น
การที่ธุรกิจมีฐานข้อมูลลูกค้าอย่างครบวงจร ทำให้ธุรกิจสามารถกำหนดทิศทางได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูง โดยการันตีได้ว่าหากมีการออกนโยการผลิตสินค้า หรือ บริการชนิดใหม่ ก็จะมีแนวโน้มสูงที่จะทำรายได้จากลูกค้าที่ผ่านการคัดกรอง วิเคราะห์จากฐานข้อมูลที่อยู่ในระบบของธุรกิจนั้นๆ
ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น พฤติกรรมของลูกค้าก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา รวมไปถึงข้อมูลที่ถูกเก็บบันทึกไว้ในเดือนที่แล้วก็อาจจะถือเป็นข้อมูลที่ล้าสมัยก็เป็นได้ เพราะเหตุนี้แล้วควรที่จะมีการติดตามอัพเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด เพื่อที่จะสามารถติดตามและดึงให้มากลายเป็นลูกค้าของธุรกิจได้
โดยข้อมูลที่ได้รับการอัพเดตหรือได้รับมาใหม่นั้นควรที่จะจัดเก็บให้เป็นมาตราฐานเดียวกันเพื่อเกิดความถูกต้อง และ ลดความผิดพลาดได้
แต่ก่อนการเก็บฐานข้อมูลลูกค้าในหลายๆ องค์กรจะเลือกใช้วิธีที่เรียบง่ายคือ แบบสอบถาม, การสัมภาษณ์, การบันทึกวีดีโอ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายไม่ซับซ้อนอะไรมาก แต่จะแลกมาด้วย การใช้ระยะเวลานานในการตีความ จัดเก็บรวบรวม เวลาต่อมาก็มีระบบวิธีการจัดเก็บฐานข้อมูลด้วยซอฟแวร์ excel, googlesheet, oracle, mysql, microsoft access ซึ่งซอฟแวร์แหล่านี้เป็นที่แพร่หลายในหลายๆ ธุรกิจเนื่องจากช่วยแก้ปัญหาเรื่องความสะดวก ความรวดเร็วในการเก็บข้อมูลลูกค้ารวมไปถึงช่วยป้องกันเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล
**เพิ่มเติม ณ ปัจจุบันนี้ธุรกิจต่างๆ ให้ความสำคัญกับข้อมูลลูกค้าเป็นจำนวนมากจึงส่งผลให้ลูกค้ารู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยต่อความเป็นส่วนตัวเท่าที่ควร จึงได้ออกกฎหมาย PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ในปัจจุบันนี้มีข้อมูลอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาเรื่องคุณภาพของข้อมูลที่ไม่ดี โดยข้อมูลที่ไร้คุณภาพนั้นจะส่งผลเสียอย่างมากต่อการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวธุรกิจเอง และ อาจทำให้ความน่าเชื่อถือลดลงไปด้วย โดยการประเมินข้อมูลที่มีคุณภาพนั้นจะมีองค์ประกอบ 5 ด้าน ดังนี้
การเก็บข้อมูลมานั้นจะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่า ข้อมูลที่ได้รับมานั้นมีความถูกต้องแม่นยำมากแค่ไหน โดยสามารถประเมินได้ดังนี้
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมานั้น ต้องอยู่ภายใต้มาตราฐานเดียวกันเพื่อทำให้ง่ายต่อการตีความรวมไปถึงสามารถใช้ประโยชน์ด้วยกันได้ และ ข้อมูลต้องมีความเชื่อมโยงไม่ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง
การใช้ข้อมูลในแต่ละครั้ง ข้อมูลในทุกๆ ด้านจะต้องตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้หรือ จำเป็นทีจะต้องมีรายละเอียดเพียงพอเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เมื่อระยะเวลาผ่านไปข้อมูลที่เคยถูกเก็บรวบรวมมาอาจจะเก่า ล้าหลังหรืออาจจะไม่สามารถนำมาใช้ได้ในบางเรื่อง ทั้งนี้จะต้องทำการอัพเดตข้อมูลอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงจะต้องกำหนดระยะเวลาการใช้งานข้อมูล เพื่อที่จะมีการปรับปรุงข้อมูลให้สดใหม่อยู่ตลอด
ก่อนที่จะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หรือ ในด้านการวางแผนการทำงาน ข้อมูลนั้นจะต้องถูกจัดในรูปแบบให้พร้อมใช้งานเสมอ และ ต้องเผยแพร่ข้อมูลให้เหมาะสมกับตามสิทธิการเข้าถึงข้อมูลนั้นๆ และจะต้องมีคำอธิบายที่ชัดเจน
ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก หรือ ขนาดใหญ่ต่างก็ต้องตอบคำถามก่อนว่าจะใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์ในด้านใด หรือ มีวัตถุประสงค์อะไรในการใช้ข้อมูล เพื่อให้เกิดภาพได้ง่าย จึงขออธิบายประโยชน์ข้อมูลแบบคร่าวๆ
ในมุมมองของการเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจนั้น จะใช้ฐานข้อมูลลูกค้าในการทำความเข้าใจใน customer insight เพื่อตอบสนองถึงความต้องการลูกค้าได้อย่างแท้จริง
ภายในในโรงงานจะใช้ฐานข้อมูลเป็นจำนวนมาก มาจัดการขั้นตอนการวางแผนการทำงานให้เป็นระบบ และ ใช้ในควบคุมต้นทุนวัตถุดิบตลอดจนระบบการขนส่งไปยังจุดหมายปลายทาง
You must be logged in to post a comment.